ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเสาเล้า
เรื่อง การแสดงเจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใสในการบริหารราชการ
…………………….…………………..……………
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ภายใต้วิสัยทัศน์ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมมีพฤติกรรมร่วมกันต้านทุจริตในวงกว้าง เกิดวัฒนธรรมทางการเมือง มุ่งต้านการทุจริตในทุกภาคส่วน การทุจริตถูกยับยั้งอย่างเท่าทันด้วยนวัตกรรมกลไกป้องกันการทุจริตและระบบบริหารราชการตามหลักธรรมภิบาล และนโยบายของรัฐบาล ข้อที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ซึ่งได้กำหนดให้มีการปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์ สุจริต ควบคู่กับการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในทุกระดับ เพื่อตอบสนองความต้องการพร้อมอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบราชการ
ในการนี้ ข้าพเจ้า นายฉัตรชัย ประสารฉ่ำ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเสาเล้า ปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสาเล้า จึงขอประกาศเจตจำนงว่า จะเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารราชการ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม ความโปร่งใส และความพร้อมให้ความร่วมมือในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตามเจตจำนงทั้งต่อเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานและสาธารณชนนอกหน่วยงาน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลเสาเล้า อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของประกาศฉบับนี้ จึงได้กำหนดนโยบายมาตรการและแผนงานเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานได้ดำเนินการ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. ๒๕61
(นายฉัตรชัย ประสารฉ่ำ)
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเสาเล้า ปฏิบัติหน้าที่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสาเล้า
รายละเอียดการกำหนดนโยบาย มาตรการและแผนงานที่ให้หน่วยงานของภาครัฐดำเนินการ
ตามประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเสาเล้า
เรื่อง การแสดงเจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใสในการบริหารราชการ
ลงวันที่ 10 มกราคม 2561
************************************************
- ความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การปฏิบัติราชการตามภารกิจของหน่วยงานที่มีความ
โปร่งใส การมีระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล (Good Govermance) ด้วยความเป็นธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1.1 การให้และการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานอย่างชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน รวมถึงให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าถึงข้อมูลต่างๆของหน่วยงานได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
1.2 การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ต้องดำเนินการและส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสในทุกขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
1.3 การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆของหน่วยงาน ตั้งแต่การแสดงความคิดเห็น ร่วมวางแผนและจัดทำแผนงาน ร่วมดำเนินการและร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงาน
1.4 การดำเนินการ การจัดการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อันไม่โปร่งใสหรือทุจริตต่อหน้าที่
2. ความพร้อมรับผิด (Accountabillity) หมายถึง การปฏิบัติราชการตามภารกิจของเจ้าหน้าที่ที่มีความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตน โดยคำนึงถึงความสำเร็จของงาน ยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม โดยคำนึงถึงความถูกต้องตามกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้เสียที่แสดงถึงความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ดังนี้
2.1 ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต้องมีพฤติกรรมและทัศนคติที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเต็มใจและเต็มประสิทธิภาพ
2.2 เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆอย่างครบถ้วนและเคร่งครัด กล้าหาญที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของตนเอง
2.3 การกำหนดทิศทางและนโยบายของผู้บริหารหน่วยงานที่จะต้องมีเจตจำนงในการบริหารงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต และพร้อมรับผิดเมื่อเกิดความผิดพลาด เพื่อสร้างความน่าเชื่อมั่นแก่สังคมว่าการขับเคลื่อนหน่วยงานจะเป็นไปอย่างมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล
3. ความปลอดจากการทุจริตในการทำงาน (Corruption – Free Index) หมายถึง พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีการดำเนินการโดยเป็นธรรมและโปร่งใส เป็นไปตามกระบวนการมาตรฐานในระหว่างการส่งมอบบริการหรือขั้นตอนการให้บริการ ไม่เลือกปฏิบัติเมื่อได้รับการเสนอเงื่อนไขพิเศษหรือจูงใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน กลุ่มหรือพวกพ้อง หากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานมีพฤติกรรมเหล้านี้มาก และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานปฏิบัติตามกระบวนการมาตรฐานหรือขั้นตอนการให้บริการด้วยความเป็นธรรมแล้ว ก็จะส่งผลให้หน่วยงานมีความปลอดภัยต่อการทุจริตในการปฏิบัติงาน ดังนี้
3.1 สอดส่องและป้องกันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน มิให้มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการทุจริตต่อหน้าที่ เช่น การรับเรียกเงิน สิ่งของ หรือผลประโยชน์ใดๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อแลกกับการปฏิบัติงานของตนเอง หรือการปฏิบัติละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนเองอย่างไม่เป็นธรรม เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง พวกพ้องของตน และ/หรือผู้อื่นผู้ใด
- 3 –
5.5 การมีคุณธรรมในการสั่งงานหรือมอบหมายงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ที่จะต้องคำนึงถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของผู้มอบหมายงาน มีความเป็นธรรมแก่ผู้รับมอบงานทุกคนอย่างเท่าเทียม มีการสื่อสารและเอาใจใส่ ติดตามในการมอบหมายงานที่ได้รับมอบหมายไป ตลอดจนรับผิดชอบผลของงานที่ได้รับมอบหมายไปด้วย
5.6 การให้ความสำคัญแก่สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและส่งเสริมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
6. การสื่อสารภายในหน่วยงาน ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
6.1 ส่งเสริมและพัฒนาการสื่อสารโดยนำเทคโนโลยีทันสมัยมาปรับใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเสาเล้า ให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องได้โดยเปิดเผย รวดเร็ว ถูกต้อง
6.2 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถแจ้งข้อมูลข่าวสาร เบาะแสทุจริต ร้องเรียนร้องทุกข์ ผ่านเว็บไซต์ และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหนองกุงศรี
|